ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ
ตอนที่ 1 : มาทำความรู้จักกับ EF หรือ Executive Funtions
ลูกของคุณอยู่ในช่วงวัย 3-6 ปี หรือเปล่าคะ?
คุณกำลังพลาดโอกาสที่จะพัฒนาสิ่งที่สำคัญที่สุดให้ลูกหรือไม่?
คุณพ่อคุณแม่ทราบมั้ยคะว่า ช่วงวัย 3-6 ปี คือช่วงสำคัญที่สุดในการพัฒนา EF แล้ว EF คืออะไร วันนี้จะไปพาไปรู้จักทักษะ EF หรือ Executive Function ทักษะทางสมองที่จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้ในอนาคต
ตอนที่ 1 : มาทำความรู้จักกับ EF หรือ Executive Funtions
ลูกของคุณอยู่ในช่วงวัย 3-6 ปี หรือเปล่าคะ?
คุณกำลังพลาดโอกาสที่จะพัฒนาสิ่งที่สำคัญที่สุดให้ลูกหรือไม่?
คุณพ่อคุณแม่ทราบมั้ยคะว่า ช่วงวัย 3-6 ปี คือช่วงสำคัญที่สุดในการพัฒนา EF แล้ว EF คืออะไร วันนี้จะไปพาไปรู้จักทักษะ EF หรือ Executive Function ทักษะทางสมองที่จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้ในอนาคต
Executive Funtions (EF) คืออะไร
Executive
Functions (EF)
คือกระบวนการทำงานของสมองเป็นทักษะหนึ่งที่จำเป็นต่อชีวิตของมนุษย์
เปรียบเสมือนทักษะชีวิต ที่กำกับความคิด ความรู้สึก
และการกระทำให้คนเราบริหารจัดการชีวิตของตนเองได้อย่างเหมาะสม
ทักษะนี้เป็นทักษะสำคัญ และจำเป็นของเด็ก ๆ ในยุคศตวรรษที่ 21 และยุค 4.0
มารู้จักการทำงานของ EF กันซักนิดดีกว่า
ทักษะ EF นี้ ทำงานอยู่ในสมองของคนเรา ภายใต้สมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ซึ่งสมองส่วนนี้จะพัฒนาได้ดี เมื่อเกิดการฝึกฝน สมองส่วนหน้านี้ไม่ได้ทำงานเพียงส่วนเดียว แต่ทำงานประสานกันระหว่างสมองส่วนต่าง ๆ ดังนั้นการดูแลสมองของเด็ก ๆ ด้วยการนอนพักผ่อนที่เพียงพอ และ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะทำให้สมองพร้อมที่จะพัฒนาทักษะนี้ได้ดี
ทักษะ EF นี้ ทำงานอยู่ในสมองของคนเรา ภายใต้สมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ซึ่งสมองส่วนนี้จะพัฒนาได้ดี เมื่อเกิดการฝึกฝน สมองส่วนหน้านี้ไม่ได้ทำงานเพียงส่วนเดียว แต่ทำงานประสานกันระหว่างสมองส่วนต่าง ๆ ดังนั้นการดูแลสมองของเด็ก ๆ ด้วยการนอนพักผ่อนที่เพียงพอ และ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะทำให้สมองพร้อมที่จะพัฒนาทักษะนี้ได้ดี
EF สำคัญอย่างไร
EF เป็นตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถ “กำกับ” “ดูแล” “ควบคุม” ความคิด ความรู้สึก และการกระทำของตนเองให้ไปสู่ “เป้าหมาย” ที่ตั้งไว้ หากเรามีทักษะนี้ ก็จะทำให้เรากำกับดูแลชีวิตของเราให้ดำเนินไปตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้ เหมือนกับการที่เรามีเป้าหมายอะไรไว้แล้ว แม้จะมีอะไรมาดึงดูด หรือ ชักจูงให้เราออกนอกลู่นอกทาง แต่เราก็สามารถควบคุมตนเองให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ๆ ได้ เรียกได้ว่า EF เหมือนพลังวิเศษที่ทำคอยเตือนใจเราไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางค่ะ
EF เป็นตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถ “กำกับ” “ดูแล” “ควบคุม” ความคิด ความรู้สึก และการกระทำของตนเองให้ไปสู่ “เป้าหมาย” ที่ตั้งไว้ หากเรามีทักษะนี้ ก็จะทำให้เรากำกับดูแลชีวิตของเราให้ดำเนินไปตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้ เหมือนกับการที่เรามีเป้าหมายอะไรไว้แล้ว แม้จะมีอะไรมาดึงดูด หรือ ชักจูงให้เราออกนอกลู่นอกทาง แต่เราก็สามารถควบคุมตนเองให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ๆ ได้ เรียกได้ว่า EF เหมือนพลังวิเศษที่ทำคอยเตือนใจเราไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางค่ะ
EF พัฒนาได้ดีในช่วงวัยไหน
มีงานวิจัยหลายงานได้ศึกษาและค้นพบว่า ทักษะ EF เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 25 ปี เรียกได้ว่า พัฒนาตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่เลยทีเดียว แต่จะมีอยู่ช่วงวัยหนึ่งที่ทักษะนี้พัฒนาได้สูงที่สุด นั่นก็คือ วัย 3-6 ปี หรือวัยอนุบาล เพราะวัย 3-6 ปี เป็นช่วงเวลาที่สมองของเด็กกำลังสร้างเส้นใยประสาทภายในสมอง การฝึกให้ลูกมีทักษะ EF ตั้งแต่เด็ก จะทำให้เส้นใยประสาทและโครงสร้างของสมองส่วนนี้แข็งแรงขึ้น และจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ มีทักษะที่จะบริหารจัดการชีวิตไปสู่ความสำเร็จได้
มีงานวิจัยหลายงานได้ศึกษาและค้นพบว่า ทักษะ EF เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 25 ปี เรียกได้ว่า พัฒนาตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่เลยทีเดียว แต่จะมีอยู่ช่วงวัยหนึ่งที่ทักษะนี้พัฒนาได้สูงที่สุด นั่นก็คือ วัย 3-6 ปี หรือวัยอนุบาล เพราะวัย 3-6 ปี เป็นช่วงเวลาที่สมองของเด็กกำลังสร้างเส้นใยประสาทภายในสมอง การฝึกให้ลูกมีทักษะ EF ตั้งแต่เด็ก จะทำให้เส้นใยประสาทและโครงสร้างของสมองส่วนนี้แข็งแรงขึ้น และจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ มีทักษะที่จะบริหารจัดการชีวิตไปสู่ความสำเร็จได้
คุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่า EF เป็นเรื่องที่ยากที่จำให้เกิดขึ้นกับเด็กๆ ได้
แต่รู้ไหมคะว่า ทักษะนี้พัฒนาได้ไม่ยาก มาเริ่มต้นไปพร้อมๆ กันนะคะ
ติดตามตอนต่อไปมาดูกันว่า EF แต่ละด้านมีอะไรบ้าง
และลูกของเรามีหรือยังไม่มี EF และจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
Recommend
ชุด นิทานพัฒนาทักษะสมอง ชุดที่ 1 | ชุด นิทานพัฒนาทักษะสมอง ชุดที่ 2 |
ป๋องแป๋ง ชุด งานบ้านแสนสนุก | ป๋องแป๋ง ชุด คนเก่ง |
ชุด นิทานพัฒนาทักษะสมอง EF ชุดที่ 4 | |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น